เนื้อหาอ่านสอบ วัฒนธรรมไทย และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

เนื้อหาอ่านสอบ วัฒนธรรมไทย และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

          วัฒนธรรมเกิดจากการนําคําว่า “วัฒน” กับ “ธรรม” มาเข้าสมาสกัน แปลตามรูปศัพท์ว่า “ธรรม เป็นเหตุให้เจริญ” หรือ “ธรรมคือความเจริญ” และคําว่า “วัฒนธรรม” ที่พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น นราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติขึ้นในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ได้ให้ความหมายของ คําว่า “วัฒนธรรม” ได้ว่า “ลักษณะที่เจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้า แห่งชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน” นั่นแสดงว่าวัฒนธรรม ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

         1. แสดงถึงความเจริญงอกงามทั้งทางจิตใจและวัตถุ
         2. แสดงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย
         3. แสดงถึงความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ
          4. แสดงถึงศีลธรรมอันดีของประชาชน

          อารยธรรมเกี่ยวพันกับวัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมเป็นฐานของอารยธรรม การที่จะเข้าใจความ หมายของอารยธรรม เพราะวัฒนธรรมกับอารยธรรมต้องไปด้วยกัน

          รากศัพท์ของคําว่าวัฒนธรรม จากภาษาอังกฤษ Culture มาจาก Cultura ในภาษาละติน หมายถึง การเพาะปลูก หรือการปลูกฝัง แต่ในภาษาไทยเป็นคําสมาส รวมคําว่า วัฒนะ แปลว่า ความเจริญงอกงาม ความรุ่งเรือง และคําว่า ธรรม แปลว่า ระเบียบ ข้อปฏิบัติ เมื่อรวมกัน หมายถึง ความเป็นระเบียบ ความมีวินัย

          ตัวอย่างความหมายคําว่าวัฒนธรรมในลักษณะต่างๆ ได้แก่

          1. ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้า ของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน (ดนัย ไชยโยธา, ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย. 2550 หน้า 16)

         2. ลักษณะวัฒนธรรมโดยทั่วไป มีดังนี้

                   2.1 วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้เป็นแนวทางของพฤติกรรมสามารถปฏิบัติสืบทอด สอนสั่งและเรียนรู้กันได้
                   2.2 วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม ผลของการเรียนรู้หรือการถ่ายทอดด้านภาษาพูดและ ภาษาเขียน ทําให้วัฒนธรรมต่างๆ สามารถสืบทอดจากคนรุ่นก่อนมาถึงปัจจุบันได้
                    2.3 วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตหรือแบบแผนการดําเนินชีวิต วัฒนธรรมเป็นระบบการดําเนิน ชีวิตที่จดจําสืบต่อกันมา และมีการแสดงออกทั้งโดยชัดแจ้งและโดยปริยาย เป็นแบบแผนแตกต่างกันไปในแต่ละ สังคม

          3. วัฒนธรรมตามความหมายทางวิชาการ หมายถึง แบบอย่างพฤติกรรมทั้งหลายอันเกิดด้วย การเรียนรู้ ผู้คนในสังคมแต่ละแห่งย่อมมีพฤติกรรมเป็นแบบเดียวกันเช่นนั้น วัฒนธรรมของผู้คนแต่ละพวกมิใช่ คงรูปตายตัว แต่เปลี่ยนตามยุคสมัยได้ ผลของพฤติกรรม ยังหมายรวมทั้งวัสดุต่างๆ และมิใช่วัตถุด้วย จึง ครอบคลุมทุกอย่างที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีในการปฏิบัติและจัดระเบียบ ตลอดจนความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ เทคโนโลยีต่างๆ ควบคุมและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ

          4. วัฒนธรรม หมายถึง การปลูกฝังสิ่งต่างๆ ลงในสังคมมนุษย์ และเมื่อสิ่งที่ปลูกฝังได้รับการ ยอมรับก็มีการสืบทอดต่อๆ ไป จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง หรือจากสังคมหนึ่งไปอีกสังคมหนึ่ง (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช คําบรรยายพื้นฐานอารยธรรมไทย เรื่อง พื้นฐานทางวัฒนธรรมไทย. 2514 หน้า 1)

          5. วัฒนธรรม คือ ผลกรรมทางจิต ความคิด ความเชื่อของมนุษย์ อันปรากฏในด้านพฤติกรรม ทางสังคม บุคลิกภาพรวมในสังคม การประกอบกิจกรรมของคนในสังคมและประดิษฐกรรมของสังคม ย่อม เป็นไปในแนวเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน ความหมายของวัฒนธรรม

          พระยาอนุมานราชธน แยกกล่าวได้ดังนี้

          1. วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิต ของส่วนรวม เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันได้ เลียนแบบกันได้

          2. วัฒนธรรม คือ ความคิดเห็น ความรู้สึก ความประพฤติ และกิริยาอาการของมนุษย์เป็นส่วน รวมที่เป็นรูปแบบเหมือนกัน ปรากฏในรูปของภาษา ศิลปะ วรรณกรรม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ขนบประเพณี

          3. วัฒนธรรม คือ มรดกทางสังคมที่สังคมยอมรับและสะสมไว้ แล้วถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไป

ดังนั้น วัฒนธรรมที่เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างขึ้น เนื้อหาของวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ วัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมทางจิตใจ (นามธรรม)

          เพ็ชรี สุมิตร ได้จําแนกวัฒนธรรมออกเป็น 9 ประเภท คือ

          1. ภาษา ทั้งภาษาพูด เขียน การสื่อความหมายวิธีอื่น เช่น ภาษาใบ้ เป็นต้น

          2. ปัจจัยในการดํารงชีวิต 4 ประการ และปัจจัยจําเป็นต่างๆ เช่น การคมนาคมขนส่ง เครื่องมือ การผลิต

          3. ศิลปะแขนงต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม วิจิตรศิลป์ นาฏศิลป์ ดนตรี วรรณกรรม เป็นต้น

          4. ความรู้แขนงต่างๆ เช่น มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น

          5. ศาสนาและการปฏิบัติพิธีกรรมในศาสนา ความเชื่อในลัทธิ ปรัชญา

          6. การจัดระบบทางสังคม เช่น ระบบครอบครัว การนับญาติ

          7. ทรัพย์สิน ระบบแลกเปลี่ยนทางการค้า เงินตรา

          8. ระบบการเมือง การปกครอง กฎหมาย ศาล รัฐบาล พรรคการเมือง การเลือกตั้ง เผด็จการ ประชาธิปไตย

          9. สงคราม เหตุปัจจัยของสงคราม กติกาสัญญาพันธมิตร สนธิสัญญาสงบศึก อาวุธต่างๆ ยุทธวิธี เป็นต้น

          วัฒนธรรมไทย หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่คนไทยกําหนด สร้าง หรือรับเข้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการ หรือเพื่อช่วยแก้ปัญหาของสมาชิกในสังคมไทย ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้มีการสืบทอด แพร่หลาย สิ่งใดไม่เหมาะสมก็จะเสื่อมความนิยมไป สิ่งที่กําหนดหรือสร้างขึ้นมานานแล้ว และเป็นวัฒนธรรม ที่คนไทยยังใช้สืบต่ออยู่ถึงปัจจุบัน จึงถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ลักษณะของวัฒนธรรมไทย

          1. เป็นวัฒนธรรมที่นับถือระบบเครือญาติ เนื่องจากคนไทยมีค่านิยมของสังคมในเรื่องเกี่ยวกับอาวุโส

          2. เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือในการบุญการกุศล คนไทยเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมและการทําบุญกุศล เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเอง โดยเชื่อว่าจะทําให้ชีวิตมีความสุขความเจริญ อีกทั้งความเชื่อยังส่งผลให้คนไทย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือต่อกัน ถือว่าเป็นการทําบุญกุศลอย่างหนึ่ง

          3. เป็นวัฒนธรรมที่มีแบบแผนทางพิธีกรรม เพราะมีความเชื่อว่าจะทําให้เกิดความขลัง ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิริมงคล โดยพบเห็นในงานบุญและประเพณีต่างๆ ในลักษณะมีขั้นตอนและองค์ประกอบในพิธี

          4. เป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม เพราะประเทศไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม จึงผูกพันอยู่กับ การเกษตรหลายสิ่ง เช่น การลงแขก การละเล่นต่างๆ ในฤดูกาลเก็บเกี่ยว

          5. เป็นวัฒนธรรมที่นิยมความสนุกสนาน การประกอบกิจกรรมหรือประเพณีของไทยมัก ประกอบด้วยความสนุกสนานรื่นเริง มีการละเล่นต่างๆ ผสมผสานด้วยเสมอ ซึ่งสะท้อนคนไทยเป็นคนรัก ความสนุกรื่นเริง

          6. เป็นวัฒนธรรมผสมผสาน จากวัฒนธรรมมีลักษณะเป็นของตนเองแต่ก็พร้อมจะรับเอา วัฒนธรรมชาติอื่นๆ มาผสมผสานหรือประยุกต์ใช้ทั้งอินเดีย จีน เขมร และชาติตะวันตก เช่น ด้านเครื่องนุ่งห่ม ด้านที่อยู่อาศัย ด้านยารักษาโรค ด้านการบริโภค ด้านการทํางาน ด้านความคิด ด้านจิตใจ

          ชาติไทยเป็นชาติเก่าแก่มีมรดกทางวัฒนธรรมหลากหลายชนิด จึงแบ่งประเภทของวัฒนธรรมและ ค่านิยมตลอดจนการปลูกฝังค่านิยม ดังนี้ ประเภทของวัฒนธรรม

          1. การแบ่งวัฒนธรรม ประเภทกว้าง 2 ประเภท คือ

                   – วัฒนธรรทางวัตถุ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขกาย เพื่อให้อยู่ดีกินดี มีความสะดวกสบายในการ ครองชีพ ซึ่งเป็นสิ่งจําเป็นเบื้องต้นในชีวิต 4 อย่าง และสิ่งอื่นๆ

                   – วัฒนธรรมทางจิตใจ คือ สิ่งที่ทําให้ปัญญาและจิตใจมีความเจริญงอกงาม เช่น ศาสนา จรรยา ศิลปะ วรรณคดี กฎหมาย ระเบียบประเพณี ซึ่งส่งเสริมความรู้สึกทางจิตใจให้งอกงามหรือให้สบายใจ

โอเบิร์น (0gburn) แบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 2 ส่วน คือ

                             1. วัฒนธรรมวัตถุ (Material Culture) ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีต่างๆ เช่น บ้าน รถยนต์ ตู้เย็น หม้อหุงข้าว เครื่องบิน ฯลฯ

                             2. วัฒนธรรมที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุ (Non-Material Culture) หมายถึง อุดมการณ์ ค่านิยม แนวคิดในเรื่องการแข่งขันอย่างมีเหตุมีผล ประเพณีการปฏิบัติสืบต่อกันมา และเป็นที่ยอมรับในกลุ่มชนกลุ่ม ของตนว่าดีงามเหมาะสม เช่น ความเชื่อ ศาสนา ความสนใจ ทัศนคติ ความรู้ ความสามารถ ซึ่งเป็นนามธรรม (Abstract) ที่มองเห็นไม่ได้

          2. การแบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 3 ประเภท (นักสังคมวิทยาแบ่งได้ 3 ประเภท) คือ

                   2.1 วัฒนธรมทางแนวความคิด (Ideas-Thinking)

                   2.2 วัฒนธรรมทางบรรทัดฐาน (Norms-Doing)

                   2.3 วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material-Having)

                   2.1 วัฒนธรรทางแนวคิด (Ideas-Thinking) หมายถึง วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความคิดเห็น ความเชื่อ หรือความรู้สึกนึกคิด ซึ่งอาจถูกหรือผิดก็ได้ เช่น ความเชื่อว่าคนตายแล้วเกิด การทําบุญ การทําบาป การถือโชคลาง ฯลฯ

                   2.2 วัฒนธรรมทางบรรทัดฐาน (Norms-Doing) ได้แก่ ระเบียบแบบแผนหรือประเพณีที่ บุคคลในสังคมยึดถือ หรือกฎหมายที่ใช้ปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย

                             2.2.1 วิถีชาวบ้าน (Folk Ways) คือ ระเบียบแบบแผนที่บุคคลในสังคมควรจะปฏิบัติ เช่น การบวชของลูกชายเมื่ออายุครบ 20 ปี เพื่อทดแทนคุณบิดา มารดา การต้อนรับแขนเมื่อใครมาถึงเรือน ชานควรจะต้อนรับ หากไม่ปฏิบัติตามอาจถูกติฉินนินทา ลักษณะที่เรียกว่า ธรรมเนียมประเพณีคือวิถีชาวบ้านนั่นเอง

                             2.2.2 จารีต (Mores) ได้แก่ ระเบียบแบบแผนที่บุคคลในสังคมจะต้องปฏิบัติตามหาก ฝ่าฝืนถือเป็นการกระทําผิดทางศีลธรรม สังคมอาจรังเกียจและถูกตัดออกจากสังคม เช่น เลี้ยงดูพ่อแม่ ตอบแทนเมื่อท่านแก่เฒ่า และเราอยู่ในภาวะที่รับผิดชอบได้ ข้อห้ามทางศาสนาจัดว่าเป็นจารีต เช่น ห้ามค้าอาวุธ ห้ามค้ายาเสพติด ห้ามค้ามนุษย์ ฯลฯ

                             2.2.3 กฎหมาย (Laws) ได้แก่ ระเบียบแบบแผนที่ทุกคนในสังคมต้องปฏิบัติตาม หาก ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามตัวบทกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ เช่น การหยุดรถเมื่อมีสัญญาณไฟแดงตามกฎจราจร

                   2.3 วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material-Having) ได้แก่ วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มนุษย์ สร้างขึ้น เพื่อนํามาใช้ในสังคม เช่น เสื้อผ้า อาหาร ยา ที่อยู่อาศัย เป็นต้น

          3. การแบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 4 ประเภท ตามประกาศกระทรวงวัฒนธรรม ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2485 ได้แบ่งประเภทของวัฒนธรรมในทางปฏิบัติ ดังนี้

                   3.1 คติธรรม คือ วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดําเนินชีวิต ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของจิตใจ และได้มาจากศาสนา

                   3.2 เนติธรรม คือ วัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งระเบียบประเพณีที่ยอมรับนับถือว่ามีความ สําคัญพอๆ กับกฎหมาย

                   3.3 วัตถุธรรม คือ วัฒนธรรมทางวัตถุ เช่น เครื่องนุ่งห่ม บ้านเรือน ยารักษาโรค เครื่องมือ เครื่องใช้

                   3.4 สหธรรม คือ วัฒนธรรมทางสังคม นอกจากหมายถึง คุณธรรมต่างๆ ที่ทําให้คนอยู่ร่วม กันอย่างผาสุก ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันแล้ว ยังรวมทั้งระเบียบมารยาทที่จะติดต่อเกี่ยวข้องกับสังคมทุกชนิด เช่น การแสดงความเคารพ การแต่งกายในโอกาสต่างๆ

          4. การแบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 5 สาขา สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้แบ่งออก

                   4.1 ศิลปกรรม (The Arts) ได้แก่ ภาษา วรรณกรรม การละคร นาฏศิลป์ ดนตรี จิตรกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และศิลปะการแสดงอื่นๆ ฯลฯ

                   4.2 มนุษยศาสตร์ (Humanitise) ได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ธรรมเนียมประเพณี กฎหมาย การปกครอง ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ปรัชญา ศาสนา ฯลฯ

                   4.3 การช่างฝีมือ (Practical Craft) ได้แก่ การเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก การทอ การ จักสาน การทําเครื่องถม เครื่องเงิน เครื่องทอง

                   4.4 กีฬาและนันทนาการ (Sport and Recreation) ได้แก่ มวยไทย กระบี่ กระบอง ตะกร้อ และการละเล่นพื้นเมือง ฯลฯ

                   4.5 คหกรรม (Domestic Arts) ได้แก่ ระเบียบในเรื่องการกินอยู่ มารยาทในสังคม การ แต่งกาย การตกแต่งเคหสถาน การดูแลเด็ก ฯลฯ

          ดังนั้น วัฒนธรรมจําแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ วัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ นั่นเองหากแบ่ง 3 ประเภท วัฒนธรรมทางความคิด วัฒนธรรมทางบรรทัดฐาน ก็คือ วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ หากแบ่งเป็น 4 ประเภท คติธรรม เนติธรรม สหธรรม ก็คือ วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ

          นอกจากนี้อาจแบ่งตามลักษณะเนื้อหาหรือตามลักษณะหน้าที่ อาจแยกประเภทตามลักษณะ หน้าที่ เช่น

          1. เพื่อสนองความต้องการพื้นฐาน ได้แก่ ปัจจัย 4 ในการครองชีพ

          2. เพื่อสนองความสงบเรียบร้อยของสังคมไทย ได้แก่ การปกครอง

          3. เพื่อผลทางจิตใจ ได้แก่ ศาสนา

          4. เพื่อความสดชื่นในชีวิต ได้แก่ สุนทรียภาพ

          5. เพื่อการสื่อสารความรู้ ได้แก่ การศึกษา

          วัฒนธรรมจะแบ่งเป็นประเภท ใช้เกณฑ์อะไรก็ได้ สิ่งสําคัญคือสังคมจําแนกลงในประเภทใด ประเภทหนึ่งครบถ้วน ตรงตามวัตถุประสงค์ ถือได้ว่าวัฒนธรรมถูกแบ่งตามจุดประสงค์นี้แล้ว องค์ประกอบของวัฒนธรรม

องค์ประกอบของวัฒนธรรม มี 4 ประเภทดังต่อไปนี้

          1. มติ (Concepts) ได้แก่ ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และอุดมการณ์ ซึ่งเกิดจากการ พินิจพิจารณาร่วมกัน เพื่อใช้ในแนวทางในการสร้างพฤติกรรมสังคมมนุษย์

          2. พิธีการ (Usages) ได้แก่ รูปการปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามมติ หรือธรรมเนียมประเพณี ซึ่ง แสดงออกในรูปพิธีกรรมต่างๆ เช่น การโกนผมไฟ พิธีสมรส

          3. องค์การ (Organization) ได้แก่ การรวมหมู่โดยมีจุดประสงค์และวิธีการดําเนินงานอย่างมี ระบบระเบียบที่แน่นอน เพื่อปฏิบัติพิธีการ

          4. วัตถุ (Symbolic Objects) ได้แก่ เครื่องมือที่มีรูปร่างสัมผัสได้ และรวมทั้งภาษาด้วย กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม หรือกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) เป็น กระบวนการอบรมสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบปฏิบัติต่างๆ ในสังคมจากคนรุ่นก่อนมาถึงคนรุ่นหลัง

          หน้าที่ของวัฒนธรรม หน้าที่ของวัฒนธรรมประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

          1. กําหนดรูปแบบของสถาบัน

          2. กําหนดพฤติกรรมของมนุษย์

          3. ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม ลักษณะของวัฒนธรรมบางประเภทที่มีอิทธิพลต่อสังคม

          วัฒนธรรมบางประการที่มีผลต่อสังคม มีลักษณะดังต่อไปนี้

          1. ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม หมายถึง ความขัดแย้งระหว่างศาสนา และความขัดแย้งระหว่าง ลัทธิการเมือง

          2. ความล้าทางวัฒนธรรม หมายถึง การที่วัฒนธรรมส่วนหนึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลง ในอัตราช้ากว่าวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น กฎหมายล้าหลัง ความคิดเรื่องผี และวิทยาศาสตร์ในสังคมเดียวกัน ความ ล้าทางวัฒนธรรมอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคมขึ้นได้ง่าย

          3. การเห็นวัฒนธรรมของตนดีกว่าวัฒนธรรมของสังคมอื่น สังคมใดที่เห็นวัฒนธรรมของตน ดีกว่า ย่อมเห็นความด้อยกว่าของวัฒนธรรมอื่น ไม่ยอมผสมผสานและพัฒนาวัฒนธรรม ลักษณะเช่นนี้อาจ นําไปสู่ความขัดแย้งระหว่างสังคมได้

          4. อนุวัฒนธรรม หมายถึง วัฒนธรรมย่อยในสังคมใหญ่ที่คนกลุ่มนั้นเข้าเป็นสมาชิกอยู่ จําแนก ได้ 4 ลักษณะคือ

                   4.1 วัฒนธรรมย่อยทางเชื้อชาติ ได้แก่ วัฒนธรรมของชาวจีนในราชอาณาจักรไทย วัฒนธรรม ของชาวไทยในสหรัฐเมริกา เป็นต้น

                   4.2 วัฒนธรรมย่อยตามเกณฑ์อายุ ได้แก่ วัฒนธรรมย่อยของวัยรุ่น วัฒนธรรมของผู้สูงอายุ เป็นต้น

                   4.3 วัฒนธรรมย่อยตามท้องถิ่น ได้แก่ วัฒนธรรมของคนไทยในภาคเหนือ วัฒนธรรมของคน ไทยในภาคใต้ เป็นต้น

                   4.4 วัฒนธรรมย่อยเชิงอาชีพ ได้แก่ วัฒนธรรมของชาวประมง วัฒนธรรมของชาวนา เป็นต้น

          5. วัฒนธรรมต่อต้านหมายถึง วัฒนธรรมย่อยที่มีความแตกต่างอย่างตรงข้ามกับวัฒนธรรมใหญ่ ของสังคม สังคมที่มีวัฒนธรรมต่อต้านมักจะเกิดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคมย่อยๆ

                   6. วัฒนธรรมอุดมคติและวัฒนธรรมจริง

วัฒนธรรมอุดมคติ หมายถึง วัฒนธรรมในความคิด เช่น ถือแบบศีลธรรม วัฒนธรรมจริง หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นจริงในสังคม เช่น ชาวพุทธแบบวิญญาณนิยม

          วัฒนธรรมไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์ขึ้น

          วัฒนธรรมไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์ขึ้น มีที่มาดังนี้

          1. สภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ภูมิประเทศของไทยส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเกษตร ดังนั้นเราจึงมีประเพณีเกี่ยวกับการทํานา เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ การทําขวัญข้าว เป็นต้น

          2. ทําเลที่ตั้งของประเทศไทย เป็นดินแดนที่ชาวต่างชาติเดินทางมาค้าขาย ทําให้วัฒนธรรมจาก ภายนอกประเทศ ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทย ได้แก่ วัฒนธรรมตะวันออก เช่น จีน อินเดีย และวัฒนธรรม ตะวันตก เช่น ยุโรป อเมริกา สังคมไทยจึงรับวัฒนธรรมต่างชาติ แล้วนํามาปรับปรุงดัดแปลงให้เข้ากับ วัฒนธรรมดั้งเดิม

          3. อิทธิพลทางความเชื่อของศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับ นับถือมาช้านาน ทําให้คนไทยมีความคิด ความเชื่อ และค่านิยม ตามหลักธรรมทางศาสนา ได้แก่ การให้อภัย การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีเมตตากรุณา การทําบุญ การอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น

          สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดขนบธรรมเนียมประเพณีไทยสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ ประเพณีไทย

          ประเพณีไทย เป็นวัฒนธรรมส่วนหนึ่งที่คนไทยยึดถือประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นลําดับ โดยแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของชาติ ประเพณีไทยอาจแบ่งได้ดังนี้

          1. ประเพณีเกี่ยวกับความเป็นอยู่ เช่น การแต่งกาย การแสดงความเคารพ เป็นต้น

          2. ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เช่น พิธีกรรมที่ทําในการเกิด การแต่งงาน การทําศพ เป็นต้น

          3. ประเพณีเกี่ยวกับศาสนา เช่น การไหว้พระสวดมนต์ การทําบุญตักบาตร การทอดผ้าป่า การ ทอดกฐิน การแห่เทียน การตักบาตรเทโว

          4. ประเพณีทางราชการ เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราช พิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น

          5. ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันลอยกระทง เป็นต้น

          6. ประเพณีท้องถิ่น ในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีประเพณีแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม เช่น ภาค เหนือ มีประเพณีรดน้ำดําหัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประเพณีบุญบั้งไฟ ภาคใต้ มีประเพณีชักพระ เป็นต้น

          ประเพณีที่สําคัญของไทย

          ชาติไทยเป็นอิสระมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีวัฒนธรรมและประเพณีประจําชาติยึดถือปฏิบัติสืบเนื่อง กันมาเป็นลําดับ และคนไทยมีความเคารพบรรพบุรุษ มีความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ ฉะนั้นขนบประเพณีและ ธรรมเนียมประเพณีบางอย่างมีเรื่องของบรรพบุรุษเจือปนอยู่ เช่น การทําบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ หรือ การไหว้ผีเรือนหรือผีปู่ย่าตายาย เมื่อมีการแต่งาน ประเพณีต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแสดงว่าคนไทยได้รับการสั่งสอน ให้รู้จักบุญคุณของบรรพบุรุษ และหาโอกาสตอบแทนในเวลาที่ท่านเหล่านั้นทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และได้ล่วงลับไปแล้ว (ประเภทประเพณี – จารีตประเพณี เป็นประเพณีที่นิยมและปฏิบัติกันสืบมา หากใครฝ่าฝืนถือว่าเป็นความผิดคนชั่ว – ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่สังคมวางเป็นระเบียบแบบแผนไว้แล้ว ปฏิบัติสืบต่อกันมาตามลําดับ – ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ ไม่ถือว่าผิดศีลผิดธรรม เป็นเพียงว่ามีคนนิยมประพฤติปฏิบัติ เพราะเห็นดีเห็นสมควร จึงได้ปฏิบัติตามกันมา

          ประเพณี คือ สิ่งที่นิยมยึดถือประพฤติปฏิบัติสืบกันมาจนเป็นแบบแผนที่ดีงาม การปฏิบัติตาม ประเพณีย่อมมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้าง คงไว้บ้าง ประเพณีย่อมแสดงถึงสัญลักษณ์ของชาติ และทุกชาติต้อง มีประเพณีประจําท้องถิ่นและประจําชาติของตน ความสําคัญของประเพณี ประเพณีไทยเป็นสิ่งสําคัญและควรสงวนไว้เป็นอย่างยิ่ง เพราะ

          1. ประเพณีเป็นวัฒนธรรมประจําชาติที่สําคัญยิ่งอย่างหนึ่ง แสดงอดีตอันมีความเจริญมาช้านาน ของสังคมไทย คนไทยจึงควรภูมิใจในชาติของตน

          2. ประเพณีมีส่วนสนับสนุนให้ชาติเจริญรุ่งเรืองในทัศนะที่ดีและถูกต้อง ประเพณีใดที่ดีอยู่แล้วก็ ควรรักษาไว้ โดยมิให้ประเพณีของชาติอื่นมามีอิทธิพลเหนือประเพณีนั้น

          3. การที่ชาติไทยมีประเพณีอันดีงามเป็นของตนเอง แสดงว่าชาติไทยมีอารยธรรมทัดเทียมกับ ประเทศอื่นที่เจริญแล้ว

          4. ชาติไทยมีประเพณีเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของตน ดังนั้นการมีประเพณีเป็นของตนเองจึง เป็นที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง

          5. ประเพณีเป็นตัวเชื่อมความรู้สึกของคนในชาติ ให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แสดงความ เป็นพวกเดียวกัน เป็นไทยเหมือนกัน และความสนิทสนมกลมเกลียว ส่งเสริมความมั่นคงของชาติ

          6. ประเพณีเป็นเครื่องแสดงอดีตและปัจจุบันของวิถีชีวิตแบบไทย ดังนั้นการสนใจประเพณีไทย จึงเท่ากับการให้ความสําคัญแก่ตนเอง (ดนัย ไชยโย, วัฒนธรรมไทย, 2550 หน้า 151)

          ประเพณีของไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

          1. ประเพณีภายในครอบครัว มีประเพณีการเกิด การโกนจุก การบวช การแต่งงาน การทําบุญ บ้าน การทําศพ เป็นต้น

          2. ประเพณีส่วนรวมตามเทศกาล เป็นประเพณที่ประชาชนทั่วไปนิยมปฏิบัติร่วมกันในแต่ละ ท้องถิ่นของไทย เพื่อทําบุญและมีงานรื่นเริงสนุกสนาน เช่น ประเพณีการทําบุญวันขึ้นใหม่ วันตรุษ วันสงกรานต์ วันสารท การทอดกฐิน การชักพระ การแข่งเรือ การรดน้ำดําหัว งานบั้งไฟ การแห่เทียนพรรษา การแห่ผ้า ขึ้นธาตุ ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นต้น

          3. ประเพณีท้องถิ่น แยกย่อยได้ดังนี้

                   3.1 ประเพณีเกี่ยวกับอาชีพ อาชีพที่เป็นของท้องถิ่นแท้ๆ และทํากันเป็นประเพณีสืบต่อ กันมา

                             ภาคเหนือ ทําร่ม ทําผ้าฝ้าย ทําเครื่องเขิน

                             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทอผ้าไหม ผ้ามัดหมี่

                             ภาคใต้ ทําขันลงหิน ขันและเครื่องลงยา ทําผ้าบาติก โสร่งปาเต๊ะ เป็นต้น

                   3.2 ประเพณีเกี่ยวกับการแต่งกาย คนไทยแต่ละภาคมีลักษณะการแต่งกายดั้งเดิมของท้องถิ่น เฉพาะ เช่น การนุ่งซิ่นของชาวเหนือ ซิ่นต้นจก ผ้าลายเชิง ชาวชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ที่ จังหวัดสุรินทร์ นิยมใช้ผ้าไหมย้อมด้วยน้ำมะเกลือ หรือน้ำครั่ง ชาวภาคกลางนิยมนุ่งผ้าพื้น ผ้าโจงกระเบน หรือผ้าถุง ชาวภาคใต้นิยมนุ่งโสร่งหรือผ้าบาติก ผ้าพื้นเมือง เป็นต้น

                   3.3 ประเพณีการเล่นในงานนักขัตฤกษ์ คนไทยแต่ละภาคนิยมการเล่นในงานนักขัตฤกษ์ แตกต่างกันไป

                            ภาคเหนือ : เทศกาลสงกรานต์มีการเล่นสาดน้ำ การแห่ครัวตาน แอ่วซอ

                            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : มีการเล่นหมอแคน หมอลํา

                            ภาคกลางมีเพลงเรือ : เพลงเกี่ยวข้าว เพลงอีแซว ลําตัด

                            ภาคใต้ : มีการเล่นหนังตะลุง มโนราห์ เป็นต้น

                   3.4 ประเพณีการรับประทานอาหาร คนไทยแต่ละภาคนิยมรับประทานอาหารแตกต่างกันไป ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมรับประทานข้าวเหนียว ลาบ ก้อย ส้มตํา

น้ำตก หมูส้ม ปลาจ่อม ปลาร้า นิยมรับประทานแกงไตปลา แกงเหลือง ข้าวยํา

น้ำบูดู เป็นต้น

          4. รัฐพิธีและพระราชพิธี

                   4.1 รัฐพิธี พิธีที่รัฐจัดขึ้นเนื่องในโอกาสต่างๆ กัน เพื่อเป็นการระลึกถึงสิ่งหรือวันสําคัญๆ ในอดีตของชาติ เช่น พิธีบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันที่ระลึกสะพานข้ามแม่น้ำแคว พิธี ตรวจพลสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณ เป็นต้น

                   4.2 พระราชพิธีพิธีที่จัดขึ้นอันเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีรัชดาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีวันฉัตรมงคล เป็นต้น

เนื่องจากเป็นภาครวมพื้นที่จังหวัดมากกว่าภาคอื่นๆ ใช้ภาษากลางในการสื่อความหมายท้องถิ่น ภาคกลางประกอบอาชีพทํานา การตั้งถิ่นฐานจะหนาแน่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีวิถีชีวิตเป็นแบบชาวนาไทย คือ รักพวกพ้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความเชื่อและเคารพบุคคลสําคัญผู้ล่วงลับไปแล้ว มีการใช้เครื่องปั้นดินเผาตาม ชุมชนและหมู่บ้านในชนบท

ประเพณีไทย 4 ภาค

ภาคเหนือ
ประเพณียี่เป็ง
ประเพณีแหล่ส่างลอง
ประเพณีทานขันข้าว
ประเพณีปอยส่างลอง

ภาคกลาง
ประเพณีตักบาตรดอกไม้
ประเพณีกวนข้าวทิพย์
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
ประเพณีตักบาตรเทโว
ประเพณีทำขวัญข้าว
ประเพณีกำฟ้า
ประเพณีโยนบัว
ประเพณีสงกรานต์

ภาคอีสาน
ประเพณีแห่นางแมว
ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีวิ่งควาย

ภาคใต้
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
ประเพณีชักพระ
ประเพณีชิงเปรต
ประเพณีการแห่นก
ประเพณีสารทเดือนสิบ
ประเพณีกวนข้าวอาซูรอ
ประเพณีแห่นางดาน
ประเพณีงานเสด็จพระแข่งเรือ
ประเภณีแห่ปราสาทน้ำผึ่ง

วันหยุดราชการ
1 มกราคม – วันขึ้นปีใหม่
6 เมษายน – วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์
13–15 เมษายน – วันสงกรานต์
13 เมษายน – วันผู้สูงอายุ
14 เมษายน – วันครอบครัว
15 เมษายน – วันเถลิงศก วันสุวัทนา
4 พฤษภาคม – วันฉัตรมงคล​
ข้างขึ้นหรือข้างแรม เดือน 6 – วันพืชมงคล
3 มิถุนายน – วันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
28 กรกฎาคม – วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12 สิงหาคม – วันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, วันแม่แห่งชาติ
13 ตุลาคม – วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
23 ตุลาคม – วันปิยมหาราช
5 ธันวาคม – วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, วันชาติ, วันพ่อแห่งชาติ, วันดินโลก
10 ธันวาคม – วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ
31 ธันวาคม – วันสิ้นปี

วันสำคัญทางพุทธศาสนา
ขึ้น 8 ค่ำ, ขึ้น 15 ค่ำ, แรม 8 ค่ำ, แรม 15 ค่ำ ของทุกเดือนจันทรคติ – วันพระ (วันธรรมสวนะ)
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (หรือเดือน 4 ในปีอธิกมาส) – วันมาฆบูชา
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (หรือเดือน 7 ในปีอธิกมาส) – วันวิสาขบูชา
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (หรือเดือน 8-8 ในปีอธิกมาส) – วันอาสาฬหบูชา
แรม 1 ค่ำ เดือน 8 (หรือเดือน 8-8 ในปีอธิกมาส) – วันเข้าพรรษา
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 – วันปวารณาออกพรรษา
แรม 1 ค่ำ เดือน 11 – วันเทโวโรหณะ
แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 – เทศกาลทอดกฐิน

วันที่ไม่ใช่วันหยุดราชการ
วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม – วันเด็กแห่งชาติ
4 มกราคม – วันทหารม้า
13 มกราคม – วันการบินแห่งชาติ
14 มกราคม – วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ
16 มกราคม – วันครู
17 มกราคม-วันโคนมแห่งชาติ
18 มกราคม – วันกองทัพไทย, วันกองทัพบก
25 มกราคม – วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
2 กุมภาพันธ์ – วันเกษตรแห่งชาติ, วันนักประดิษฐ์
3 กุมภาพันธ์ – วันทหารผ่านศึก
10 กุมภาพันธ์ – วันอาสารักษาดินแดน
24 กุมภาพันธ์ – วันศิลปินแห่งชาติ
25 กุมภาพันธ์ – วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ
26 กุมภาพันธ์ – วันสหกรณ์แห่งชาติ
5 มีนาคม – วันนักข่าว
13 มีนาคม – วันช้างไทย
20 มีนาคม – วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ
27 มีนาคม – วันที่ระลึกกองทัพอากาศ
31 มีนาคม – วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า
1 เมษายน – วันออมสิน, วันข้าราชการพลเรือน
2 เมษายน – วันอนุรักษ์มรดกไทย, วันหนังสือเด็กแห่งชาติ
9 เมษายน – วันกองทัพอากาศ
16 เมษายน – วันนักกีฬายอดเยี่ยม
24 เมษายน – วันเทศบาล
30 เมษายน – วันคุ้มครองผู้บริโภค
1 พฤษภาคม – วันแรงงานแห่งชาติ
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 – วันต้นไม้แห่งชาติ
5 มิถุนายน – วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ
24 มิถุนายน – วันปฏิวัติสยาม
26 มิถุนายน – วันสุนทรภู่
31 พฤษภาคม – วันงดสูบบุหรี่โลก, วันงดดื่มสุราแห่งชาติ
1 กรกฎาคม – วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
29 กรกฎาคม – วันภาษาไทยแห่งชาติ
1 สิงหาคม – วันสตรีไทย
4 สิงหาคม – วันสื่อสารแห่งชาติ
7 สิงหาคม – วันรพี
10 สิงหาคม – วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน
16 สิงหาคม – วันสันติภาพไทย
18 สิงหาคม – วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
6 กันยายน – วันทรงดนตรี
8 กันยายน – วันการศึกษานอกโรงเรียน
20 กันยายน – วันเยาวชนแห่งชาติ, วันอนุรักษ์รักษาคูคลองแห่งชาติ
24 กันยายน – วันมหิดล
28 กันยายน – วันพระราชทานธงชาติไทย[13]
แรม 15 ค่ำ เดือน 10 – วันสารทไทย
9 ตุลาคม – วันคล้ายวันสถาปนาการสื่อสารแห่งประเทศไทย, วันไปรษณีย์โลก
14 ตุลาคม – วันประชาธิปไตย
17 ตุลาคม – วันตำรวจ
21 ตุลาคม – วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ, วันพยาบาลแห่งชาติ, วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ, วันรักต้นไม้แห่งชาติ
31 ตุลาคม – วันออมแห่งชาติ
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 – วันลอยกระทง
วันเสาร์ที่ 2 ของพฤศจิกายน – วันคนพิการ
14 พฤศจิกายน – วันพระบิดาแห่งฝนหลวง
20 พฤศจิกายน – วันกองทัพเรือ
25 พฤศจิกายน – วันที่ระลึกสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า, วันประถมศึกษาแห่งชาติ
27 พฤศจิกายน – วันสาธารณสุข
4 ธันวาคม – วันสิ่งแวดล้อมไทย, วันรู้รักสามัคคี
8 ธันวาคม – วันนักศึกษาวิชาทหาร
16 ธันวาคม – วันกีฬาแห่งชาติ
26 ธันวาคม – วันคุ้มครองสัตว์ป่า
28 ธันวาคม – วันที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
วันการศึกษานอกโรงเรียน
วันการศึกษานอกโรงเรียน เริ่มจากมติที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจากนานาชาติว่าด้วยการไม่รู้หนังสือ เมื่อปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ดังกล่าวนี้ทำให้ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) กำหนดวันที่ 8 กันยายน ของทุกปีเป็นวัน International Literacy Day
พ.ศ. 2522 รัฐบาลจัดนิทรรศการ “วันการศึกษานอกโรงเรียน” และยังกำหนด Internationnal Literacy Day ให้เป็น วันการศึกษานอกโรงเรียน ของไทยเช่นกัน